• 02 149 5555 ถึง 60
  • www.dmh.go.th

ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบกับหน่วยงานภายนอก / กับนานาประเทศ

กลุ่มที่ 1 : ผลลัพธ์ที่สะท้อนถึงศักยภาพ/ความสามารถในการแข่งขันของประชากรไทยกับประชากรในประเทศอื่นๆ

ความสุขของคนไทย

แหล่งข้อมูล : World Happiness Report

Update: March 21, 2017

http://worldhappiness.report/

Download

ข้อมูลจากเว็บไซต์ซีเอ็นเอ็น และสำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานการจัดอันดับประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก เมื่อปี 2556 จัดขึ้นโดยเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติและสถาบันโลกของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย พบว่า เดนมาร์กเป็นประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับที่ 33 ของโลก ขณะที่บุรุนดี เป็นประเทศที่ไม่มีความสุขมากที่สุดในโลกจาก 156 ประเทศทั่วโลก

สำหรับประเทศที่มีความสุขมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ ฟินแลนด์ แคนาดา เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และสวีเดน โดยเมื่อปีที่ผ่านมาเดนมาร์กได้อันดับ 3 ตามหลังสวิตเซอร์แลนด์และไอซ์แลนด์ ส่วนประเทศที่มีความสุขน้อยที่สุด 10

อันดับสุดท้าย ได้แก่ มาดากัสการ์ แทนซาเนีย ไลบีเรีย กินี่ รวันดา เบนิน อัพกานิสาน โตโกซีเรีย และบุรุนดี ขณะที่ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 33 โดยปีที่แล้วอยู่อันดับที่ 34 สำหรับสหรัฐอเมริกาอยู่อันดับที่ 13 สหราชอาณาจักร อยู่อันดับที่ 23 ฝรั่งเศส 32 และอิตาลี 50 ทั้งนี้ การจัดอันดับประเทศที่มีความสุข วัดจากความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายของผู้คนมากกว่าที่จะวัดจากการศึกษา สุขภาพ ความยากจน รายได้ และธรรมาภิบาลของรัฐบาล

50 อันดับดัชนีความสุขของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ระหว่างปี 2014-2016

แผนภาพ การเปรียบเทียบอันดับและดัชนีความสุขของประเทศไทย กับประเทศอื่นๆ

ผลสำรวจดัชนีความสุขคนไทยปี พ.ศ.2558

ข้อมูลจากการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติโดยความร่วมมือกับกรมสุขภาพจิตและมหาวิทยาลัยมหิดล

ประจำปี พ.ศ.2558

ที่มา สำนักงานสถิติแห่งชาติ

url: http://service.nso.go.th/nso/web/survey/surpop2-4-10.html

Download

ผลการสำรวจความสุขของคนไทยที่สะท้อนจากระดับคะแนนสุขภาพจิตพบว่า ในปี 2551 – 2553 ระดับคะแนนสุขภาพจิตที่สะท้อนถึงความสุขของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตาม ในปี 2554 คะแนนสุขภาพจิตเริ่มลดลงเนื่องจากหลายพื้นที่ในประเทศไทยประสบภาวะน้ำท่วมและในปี 2555 คะแนนสุขภาพจิตเริ่มขยับเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มลดลงอีกครั้งในปี 2556–2557 จากภาวะปัญหาทางการเมืองภายในประเทศและเศรษฐกิจที่ถดถอยลงตามไปด้วย ทั้งนี้ คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตของคนไทยเริ่มขยับตัวสูงขึ้นอีกครั้งในเดือนสิงหาคม 2557

ดัชนีความสุขคนไทย

ดัชนีความสุขคนไทย 15 ปี

ระดับสติปัญญาของเด็กไทย

แหล่งข้อมูล : สถาบันราชานุกูล

Download PDF Files : เชื่อมั่นเด็กไทย...ไอคิวดี อีคิวเด่น ในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พ.ศ.2559

Update: 17 มีนาคม 2560

http://www.rajanukul.go.th/

ระดับสติปัญญาของเด็กไทย (อายุ 6-15 ปี) (ปี พ.ศ.2554 / ค.ค.2011)

ระดับสติปัญญาของเด็กไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ปี พ.ศ.2559 / ค.ค.2016)

ความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กไทย

แหล่งข้อมูล : สถาบันราชานุกูล

Download PDF Files : เชื่อมั่นเด็กไทย...ไอคิวดี อีคิวเด่น ในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พ.ศ.2559

Update: 17 มีนาคม 2560

http://www.rajanukul.go.th/

ผลสำรวจความฉลาดทางอารมณ์เด็กนักเรียนไทยอายุ 6-11 ปี โดยในปี 2554 มีคะแนนEQ เฉลี่ยระดับประเทศอยู่ระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ คือ มีค่าคะแนนอยู่ที่ 45.12จากค่าคะแนนปกติ 50 – 100เมื่อพิจารณารายภาค จะพบว่า ภาคใต้มีคะแนนอีคิว เฉลี่ยสูงสุด อยู่ที่ 45.95 ซึ่งใกล้ค่าปกติมากที่สุด รองลงมา คือ ภาคเหนือ 45.84 กรุงเทพมหานคร 45.62 ภาคกลาง 44.38 และต่ำสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 44.04 (แผนภาพที่ 12) ส่วนผลการสำรวจความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กนักเรียนไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในปี 2559 พบว่า เด็กไทยร้อยละ 77.1 มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติขึ้นไป (ตารางที่ 4) ซึ่งสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด (ร้อยละ 70)

คะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กไทย อายุ 6-11 ปี จำแนกรายภาค (ปี พ.ศ.2554 / ค.ค.2011)

ผลสำรวจความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ปี พ.ศ.2559 / ค.ศ.2016)

อัตราการฆ่าตัวตาย

แหล่งข้อมูล : ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ รพจ.ขอนแก่นราชนครินทร์

Update: 17 มีนาคม 2560

https://www.suicidethai.com/

Download

จากการรวบรวมจำนวนผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จจากใบมรณะบัตรของกระทรวงมหาดไทยในช่วงปี 2540 – 2558 พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายในระยะหลังจากสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อปี 2540 มีแนวโน้มสูงขึ้น จาก 6.92 ต่อประชากรแสนคนในปี 2540 เป็นอัตรา 8.59 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2542 จากนั้น อัตราการฆ่าตัวตายค่อยๆ ลดลง จนถึงอัตราต่ำสุด (5.77 ต่อประชากรแสนคน) ในปี 2549 ซึ่งเป็นผลสะท้อนถึงความสามารถในการพัฒนาแนวทางและดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง (แผนภาพที่ 13) ซึ่งทำให้อัตราการฆ่าตัวตายในระหว่างปี 2550 – 2557ทรงตัวอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันและเป็นอัตราที่ยังต่ำกว่าค่าเกณฑ์ที่ประเทศไทยกำหนด (ไม่เกิน 6.3 ต่อประชากรแสนคน) อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 พบว่า อัตราเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้นอีกครั้ง

ทั้งนี้ อัตราการฆ่าตัวตายของประเทศไทยในปี 2555 ที่ปรากฏในข้อมูลขององค์การอนามัยโลกซึ่งเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เป็นอัตราที่ได้จากงานวิจัยทางวิชาการเฉพาะพื้นที่ (ตารางที่ 5) จึงไม่สอดคล้องกับอัตราที่ประเทศไทยมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ถือได้ว่า อัตราดังกล่าวยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ WHO กำหนด (ไม่เกิน 15 ต่อประชากรแสนคน)

suicide

suicide report

ความชุกของโรคทางจิตเวช

แหล่งข้อมูล : สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต

Update: 17 มีนาคม 2560

http://mhtech.dmh.moph.go.th/

ความชุกของโรคทางจิตเวช

ความชุกของโรคทางจิตเวช 3

ความชุกของโรคทางจิตเวช 2